Author Topic: โลกของ"เสือปลา" แห่งทุ่งน้ำ"สามร้อยยอด"  (Read 7990 times)

Offline Phoenix

  • Administrator
  • เซียน
  • *****
  • Posts: 1551
สือปลาในเมืองไทย เป็นสัตว์ลึกลับเสียยิ่งกว่าเสือโคร่ง ทั้งที่มันก็ป้วนเปี้ยนอยู่ตามหลังบ้านคนที่สามร้อยยอด...มาตั้งนานแล้ว!
ผู้คลี่คลายความลึกลับของเสือปลาไทย เป็นนักวิจัยนาม "น้ำฝน-พัสนันท์ คัตเตอร์" ได้รับทุนเมื่อปี 2546 ให้ออกสำรวจเสือปลา

ปรากฏว่าอุปสรรคใหญ่ที่น้ำฝนเผชิญเวลานั้น คือไม่รู้ว่าเสือปลาอยู่ที่ไหน?

เธอออกสำรวจไปตามป่าหลายแห่ง ทั้งลุ่มน้ำภาชี เขาใหญ่ คลองแสง เนื่องจากข้อมูลในอดีตระบุว่า "เสือปลาอยู่ริมห้วยในป่า" แต่ต้องคว้าน้ำเหลวกลับมาทุกแห่งไป

การบอกว่าเสือปลาเป็นสัตว์หายาก ดูจะขัดกับความเชื่อของชาวบ้านในหลายพื้นที่ มีเบาะแสแจ้งเข้ามาที่น้ำฝนมากมายว่าพบเสือปลาตรงนั้นตรงโน้น ชาวบ้านก็เลี้ยงกันเยอะ ครั้นเธอลงพื้นที่เพื่อไปสัมภาษณ์ชาวบ้านถึงต้นตอ

1.เสือปลาตัวผู้ (ซ้าย)เสือปลาตัวเมีย (กลาง) และลูกเสือปลา (ขวา)มาเข้ากล้องดักถ่ายจุดเดียวกันคืนเดียวกัน เห็นสัดส่วนขนาดที่ต่างกันอย่างชัดเจน

2.น้ำฝน-พัสนันท์ คัตเตอร์ ผู้บุกเบิกการวิจัยเสือปลาไทย

3.แมวจรจัด เดินผ่านเซ็นเซอร์กล้องดักถ่าย

4.เสือปลาบางตัว ต้องสิ้นอิสรภาพอยู่ในกรงสุนัขของชาวบ้าน


ที่มา วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7473 ข่าวสดรายวัน
โลกของ"เสือปลา" แห่งทุ่งน้ำ"สามร้อยยอด"
ปริญญา ผดุงถิ่น
ตามองดาว เท้าย่ำโคลน

Offline Phoenix

  • Administrator
  • เซียน
  • *****
  • Posts: 1551
1.มูลเสือปลาในมือขวา เผยให้ทราบว่าบางเวลาเสือปลากินพืชพวกต้นกกและใบมะขามเทศ

2.ปลอกคอเก่า ซึ่งเสือปลาเจ้าของปลอก ถูกยิงตายไปแล้ว

3.พื้นที่รกร้างแคบๆ เป็นที่ซุกหัวนอนของเสือปลาในตอนกลางวัน

4.การจับสัญญาณวิทยุเสือปลาไม่ว่าจุดใด จะเห็นฉากหลังเป็นเทือกเขาสามร้อยยอดเสมอ
ตามองดาว เท้าย่ำโคลน

Offline Phoenix

  • Administrator
  • เซียน
  • *****
  • Posts: 1551
รอยเท้าเสือปลาตัวผู้ เทียบกับฝาครอบเลนส์ขนาด 62 ม.ม.
ตามองดาว เท้าย่ำโคลน

Offline Phoenix

  • Administrator
  • เซียน
  • *****
  • Posts: 1551
เสือปลามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prionailurus viverrinus ชื่อสามัญ Fishing Cat มีขนาดใหญ่กว่าแมวบ้านเล็กน้อย รูปร่างลักษณะอ้วนหนา บึกบึน หลังหูมีสีดำและมีแต้มสีขาวเด่นชัดอยู่กลางใบ หางอ้วนและสั้น หรือเพียงประมาณ 1/3 ของความยาวหัว-ลำตัว
ตัวผู้หนักประมาณ 9-13 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 6-9 กิโลกรัม อาหารหลักคือปลา หนู และยังกินนก หอย ปู งู และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กอื่นๆ ที่อาศัยในพื้นที่ชุ่มน้ำ ป่าชายเลน และพื้นที่เกษตรกรรม ออกหากินในเวลากลางคืน

ขนของเสือปลาได้รับการออกแบบจากธรรมชาติให้สามารถใช้ชีวิตในที่ชื้นแฉะได้อย่างไม่อนาทรร้อนใจ แม้ขนชั้นนอกจะเปียกโชก แต่ขนชั้นในจะยังคงแห้งสนิทตลอดเวลา

จากบันทึกในอดีต เสือปลามีถิ่นอาศัยกระจายตั้งแต่ประเทศแถบเอเชียใต้ คือ ปากีสถาน เนปาล อินเดีย บังกลาเทศ กระจายต่อลงมายังประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ พม่า ลาว เขมร กัมพูชา ไทย และแถบเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย

น้ำฝนชี้ว่า บันทึกในอดีตพวกนี้ก็มีข้อผิดพลาด เช่นเดียวกับที่ระบุถิ่นอาศัยผิดพลาด

"จากการสำรวจจริงๆ ทุกวันนี้ยังไม่พบเสือปลาในกัมพูชา ที่มาเลเซียก็สรุปแล้วว่าไม่มีเสือปลา จากเดิมมีภาพถ่ายตรงบั้นท้ายแล้วเข้าใจผิดว่าเป็นเสือปลา อินโดฯ ก็ไม่เจอ ส่วนที่เวียดนามเพิ่งเจอ ที่มีเยอะหน่อยก็บังกลาเทศ เนปาล โดยเฉพาะที่ศรีลังกา ในเมืองหลวงโคลอมโบ เสือปลาออกมาเดินตอนกลางวันได้เลย เพราะคนที่นั่นเขาไม่กินไม่ทำร้ายเสือปลา"

สําหรับเมืองไทย การพิสูจน์ยืนยันเสือปลาด้วยกล้องดักถ่าย พบเสือปลาเพียง 3 แห่งเท่านั้น คือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จ.พัทลุง แห่งที่สองคือ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ซึ่งพบแค่เรกคอร์ดเดียว และแห่งที่สาม คือบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำทุ่งสามร้อยยอด

ขออนุญาตคัดลอกมาให้อ่านเพียงแค่นี้ ใครต้องการอ่านต่อโปรดอ่านจากต้นฉบับที่
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dNVEUyTURVMU5BPT0=&sectionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1TMHdOUzB4Tmc9PQ==
ข่าวสดรายวัน
วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7473
โลกของ"เสือปลา" แห่งทุ่งน้ำ"สามร้อยยอด"
ปริญญา ผดุงถิ่น
ตามองดาว เท้าย่ำโคลน