แบ่งปันประสปการณ์ > หัวใจออนทัวร์

ภารกิจ นักเดินป่าอาสากู้ภัย Mission I ตามหาหัวน้ำคลองมหาสวัสดิ์

(1/3) > >>

Phoenix:
จริง ๆ แล้ว การร่วมภารกิจกับ กล่มนักเดินป่าอาสากู้ภัย ผมก็ร่วมทำงานกันมานานแล้วละ แต่ว่าเพียงแค่เป็นคนประสานงาน
มาวันนี้ ได้มีโอกาสเข้าไปร่วม  พูดคุยในเรื่องการทำงานและได้รับโอกาสให้ออกสำรวจ ร่วมกลับกลุ่มในการตามหาแนวที่ต้องเฝ้าระวัง(คาดว่าจะมีน้ำทะลัก หรือเกิดภัยพิบัติต่อไป)
Mission I หมายถึงการที่ผมเข้าไปร่วมงานภาคสนามกับกลุ่มเป็นครั้งแรก(คงไม่ต้องบอกนะว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรกของกลุ่ม)

Phoenix:

ในการพูดคุย กำหนดพื้นที่และขั้นตอนการทำงานก่อนออกสำรวจ เราได้เลือก ฝั่งตะวันตกของเจ้าพระยา เป็นพื้นที่ทำการ ใช้สมาคมชาวปักษ์ใต้เป็นฐาน  โดนได้รับการสนับสนุน จากพี่แหม่มซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ สมาคมชาวปักษ์ใต้ เป็นคนประสานงานอนุญาตในการใช้พื้นที่

Phoenix:
ก่อนอื่นขออธิบายถึงสาเหตุการเลือกพื้นที่ก่อน
เหตุผลที่เลือกพื้นที่ ฝั่งตะวันตก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีสมาชิกหลายคน รู้จักพื้นที่ดี ไม่ว่าจะเป็น พี่ต้าร์ (เจ้าของเว็บ Trekkingthai.com) พี่แจง( ทานตะวัน nature.org/)พี่บอย (ทาซานบอย tazanture.com) และเพื่อนคนอื่นๆ ที่อยู่ในพื้นที่
นอกจากเหตุผลทางด้านกำลังพลแล้ว ยังมีเหตุผลทางด้านภูมิศาสตร์หรือเข้าใจง่ายๆ คือ พื้นที่ฝั่งตะวันตก มีความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมได้งาน ทำไมนะเหรอ ไปเปิดดูแผนที่สิครับ แนวฝั่งตกวันตก คลองพับไปพับมา แล้วน้ำที่ทะลักมามากๆ มันจะไหลทันได้ไง  บ้านเรือนใครอยู่ใกล้ ก็เจอน้ำทะลักเข้าไปเป็นธรรมดา

Phoenix:
หลังจากกำหนดพื้นที่แล้วก็ต้องมีการเตรียมการ
ก็ต้องเตรียมทั้งกำลังพล และกำลังข้อมูล  การออกสำรวจครั้งนี้ก็คือการออกสำรวจเก็บข้อมูลความเสี่ยงครับ
แนวการออกสำรวจของเรา ตั้งแต่ ศาลายา คลองมหาสวัสดิ์ จนถึงลำน้ำเจ้าพระยา ในฝั่งฟากตะวันตกนะครับ
การสำรวจแบ่งออกเป็นสองทีม
ทีมที่หนึ่งนำทีมโดย พี่ต้าร์ พี่ป้อ พี่บอย  สำรวจตั้งแต่แนว ถนนเส้นเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข9)ตามลำคลอง ประตูน้ำ ไปจนถึงศาลายา
ทีมที่สอง นำทีมโดยน้องโอ(ทาซานทีม) พี่แจง  หวาน วัต(หน่วยดูแลหัวใจ) โดยมีผมตามไปเก็บภาพ  สำรวจ ตั้งแต่ถนนเส้นเพชรเกษม คลองมหาสวัสดิ์ จรัญสนิทวงศ์ ถนนนครอินทร์  จนถึงริมเจ้าพระยา  (สะพานพระราม 5)

Phoenix:
ก่อนอื่น ทำความเข้าใจกับคำว่า "หัวน้ำ" ก่อนดีกว่า
หัวนี้ คืออะไร มีลักษณะอย่างไร หลายๆ คนอาจงง
ถ้าเราเปรียบ ลำน้ำ เหมือนงู  ปกติของงูจะเลื้อยไปทางหัว แม่น้ำก็ ไหลไปออกทะเล ที่ปากแม่น้ำ
ดังนั้น หัวน้ำ คือ จุดที่น้ำได้ผ่านแนวป้องกันเข้ามาแล้ว
หัวน้ำ(ที่เราตามสำรวจ)มีลักษณะ เป็น น้ำผุด หรือไหลผ่านช่องที่อยู่ในแนวที่ขาดความมั่นคงของแนวกั้น(ซึ่งจะทำให้แนวกั้นพังในอนาคต) เอาละ เด๋วจะอธิบายใน ประกอบรูปแล้วกันครับ

Navigation

[0] Message Index

[#] Next page

Go to full version